กฎหมาย
ความหมายของกฎหมาย
กฎหมายนั้นมีความหมายอยู่หลายประการ ซึ่งความหมายจะแปรเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น
ลักษณะของสังคมที่แตกต่างกัน สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ความต้องการของประชาชนในสังคม
นั้น ๆ แต่หลักที่สำคัญและเป็นความหมายของกฎหมายโดยทั่วไปจะมีอยู่ 4 ประการ คือ
1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่ง
2. กฎหมายถูกกำหนดขึ้นโดยผู้มีอำนาจในสังคม
3. กฎหมายใช้บังคับและเป็นที่ทราบแก่คนทั่วไป
4. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับแก่ผู้ฝ่าฝืน
-ความสำคัญของกฎหมาย
ในสังคมของมนุษย์นั้นมีสมาชิกจำนวนมากที่มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิดเห็นและพฤติกรรมต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีกฎระเบียบหรือกติการ่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่างๆ ดังนี้
1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมทุกคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม
2. กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พลเมืองไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ กฎหมายจะเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย
3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม คนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรม
4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐเป็นผู้จัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้น ย่อมส่งผลให้ คุณภาพด้านการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น หรือการที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ย่อมทำให้สังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมีมาตรฐานดีขึ้น
องค์ประกอบของกฎหมาย
1. กฎหมายเป็นบทบัญญัติ
2. ผู้มีอำนาจตรากฎหมาย จะต้องเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ
3. บทบัญญัติที่กำหนดไว้ มี 2 ประเภท คือ
-บทบัญญัติ ที่ใช้ในการบริหารบ้านเมือง
-บทบัญญัติที่ใช้บังคับบุคคล ในความสัมพันธ์ระหว่างกัน (ไม่เกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง)
4. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องได้รับโทษ หรือ ต้องถูกบังคับให้ปฏิบัติตาม
ประเภทของกฎหมาย
กฎหมายที่ใช้บังคับในรัฐมีอยู่หลายรูปแบบและหลายประการ ในที่นี้สามารถแบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
กฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่ร่างขึ้นเป็นตัวหนังสือ ผ่านขั้นตอน / กระบวนการอย่างเป็นระเบียบแบบแผนข้อความในกฎหมายจะปรากฎเป็นบทบัญญัติมาตราต่าง ๆ สามารถค้นหาได้ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา เป็นต้น
2. กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร จะไม่มีการร่างเป็นตัวบทกฎหมาย แต่จะอาศัยจารีตประเพณีที่ปฏิบัติกันมาจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นกฎหมาย รวมถึง คำวินิจฉัยของศาลที่ใช้ซ้ำ ๆ จนสามารถนำเป็นหลักพิจารณาคดีให้กับศาลในช่วงหลัง ๆ
ศักดิ์ของกฎหมาย
ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย หมายถึง ลำดับฐานะความสูงต่ำของกฎหมาย มีความสำคัญในการตีความ
และการใช้กฎหมายบังคับ เพราะกฎหมายที่มีศักดิต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่ามิได้
ประโยชน์ของการจัดลำดับชั้นของกฎหมายตามศักดิ์มีมากในทางปฏิบัติ ในการแก้ไขเพิ่มเติม
หรือยกเลิกกฎหมายแม่บท เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การะทำโดยตรารัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
การยกเลิกพระราชกฤษฎีกา ก็ต้องตราพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่ จะออกกฎกระทรวงยกเลิกพระราชกฤษฎีกาไม่ได้
เป็นต้น
การจัดลำดับชั้นของกฎหมายมี ๗ ลำดับดังนี้
๑. รัฐธรรมนูญ
๒. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
๓. พระราชบัญญัติ
๔. พระราชกำหนด
๕. พระราชกฤษฎีกา
๖. กฎกระทรวง
๗. กฎหมายที่ตราโดยองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่มาของกฏหมาย
แหล่งที่มาของกฏหมายมีอยู่มากมายหลายทาง และมีวิวัฒนาการหรือเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ทังนี้สามารถแบ่งแหล่งที่มาของกฏหมายได้ดังนี้
•จารีตประเพณี เป็นแนวปฏิบัติที่ใช้ในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ซึ่งไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเรื่องของการยึดถือและปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน
•การออกกฏหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ ในการปกครองระบอบราชาธิปไตย การออกกฏหมายจะเป็นพระบรมราชโองการของกษัตริย์ ต่อมาอำนาจในการออกกฏหมายเป็นของสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการออกกฏหมายโดยเฉพาะ ที่สำคัญคือ สถาบันรัฐสภาหรือสภานิติบัญญัติ ปัจจุบันรัฐที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐสภาเป็นแหล่งออกกฏหมายโดยตรง
•คำสั่งและกฤษฏีกาที่ออกโดยฝ่ายบริหาร เป็นกฏหมายที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้ออกมาบังคับใช้
•คำพิพากษาของศาล คำพิพากษาของศาลคือแหล่งที่มาของกฏหมายนั้นๆ เช่น กรณีที่ผู้พิพากษาเคยตัดสินคดีในลักษณะเดียวกันนี้มาก่อน เมื่อมีคดีลักษณะเช่นเดียวกันเกิดขึ้นมาอีก ผู้พิพากษาจะยึดเอาคำตัดสินที่แล้วมาเป็นหลัก
•ความคิดเห็นของนักวิชาการ นักวิชาการกฏหมายมีส่วนช่วยให้เกิดกฏหมายใหม่ๆ ขึ้นบังคับใช้ในสังคม หรือนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงกฏหมายต่างๆ ทีไม่มีความยุติธรรมหรือไม่มีความเท่าเทียมกันในสังคม ให้มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น กฏหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา กฏหมายเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลงอายุของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจาก 20 ปี เป็น 18 ปี ฯลฯ
วิวัฒนาการของกฎหมายไทย
สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา กฎหมายไทยได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของฮินดู ซึ่งเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการแกครองแต่เพียงผู้เดียว ต้องปกครองบ้านเมืองไพร่ฟ้าประชาชนด้วยความเป็นธรรม ยุติธรรม และมีเมตตาธรรม และพระราชศาสตร์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์สร้างขึ้นจากการวินิจฉัยอรรถคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและสะสมต่อ ๆ กันมา โดยยึดหลักว่า จะต้องสอดคล้องกับคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ด้วย นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นเอง โดยเฉพาะสมัยกรุงศรีอยุธยามีเป็นจำนวนมากตามความต้องการและความจำเป็นในแต่ละยุคแต่ละสมัย เช่น กฎหมายลักษณะอาญาหลวง กฎหมายลักษณะพยาน กฎหมายลักษณะโจร กฎหมายลักษณะผัวเมีย ฯลฯ เป็นต้น
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดให้มีการรวบรวมและตรวจชำระกฎหมายครั้งใหญ่ ฎหมายเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่กระจัดกระจาย ชำรุด หรือสูญหาย เมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 โดยนำมารวบรวมจัดเป็นหมวดหมู่ แก้ไขความคลาดเคลื่อน ความไม่ยุติธรรมที่ตรวจพบ และเพิ่มเติมในบางส่วนที่ขาดหายไปขึ้นมาใหม่ เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากปัญหาการบังคับใช้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต ของชาติตะวันตก ซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ทรงโปรดให้มีการปฏิรูปการศาลยุติธรรมและระบบกฎหมายครั้งใหญ่ โดยจัดระเบียบการศาลยุติธรรมใหม่ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายตามคำกราบบังคมทูลของกรมหลวงราชบุรดิเรกฤทธิ์ ซึ่งทรงเป็นครูสอนกฎหมายเองด้วย และทรงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2440 ซึ่งประกอบด้วยนักกฏหมายไทยและต่างประเทศ คณะกรรมการชุดนี้ได้ทำการร่างและประกาศใช้ ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ซึ่งถือว่าเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย ต่อมามีการปรับปรุงอีก 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2486 และ 2499 เรียกว่า ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยต่อ ๆ มาก็ได้มีการร่างและประกาศใช้ประมวลกฎหมายอื่น ๆ อีกหลายฉบับ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายวิถีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ฯลฯ เป็นต้น
การปฏิรูปกฎหมายศาลยุติธรรมและการประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ทำให้ประเทศไทยหมดยุคกฎหมายเก่า และเข้าสู่ยุคขบวนกฎหมายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การจัดทำกฎหมายไทย
ประเทศไทยเริ่มใช้ระบบประมวลกฎหมาย มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบันมีการจัดทำกฎหมายขึ้นใช้หลายรูปแบบ เรียงตามลำดับฐานะหรือความสำคัญของกฎหมาย4 จากสูงไปต่ำ ดังนี้ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ (พระราชกำหนดประมวลกฎหมาย) พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และกฎหมายท้องถิ่น การจัดทำกฎหมายรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ มีขั้นตอนและวิธีการแตกต่างกัน ดังนี้
การจัดทำรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประชาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดรูปแบบการปกครองและระเบียบการบริหารประเทศ ผู้ที่มีอำนาจจัดหาสูงสุดในการปกครองประเทศขณะนั้น ไม่ว่าจะได้อำนาจมา โดยวิธีใดก็ตาม อาจจะเป็นประมุขของประเทศ หรือหัวหน้าคณะปฏิวัติหรอรัฐประหาร ที่ต้องการเปลี่ยนการปกครองจากการใช้กำลัง มาเป็นการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ ในสถานการณ์ที่มีการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง การจัดทำรัฐธรรมนูญอาจกระทำอย่างรวบรัด ตั้งแต่การยกร่าง การพิจารณาโดยไม่เปิดเผย แล้วประกาศใช้เลยก็ได้ แต่โดยหลักการแล้วเท่าที่ผ่านมา หัวหน้าคณะปฏิวัติจะถวายอำนาจการตรารัฐธรรมนูญแต่พระมหากษัตริย์ โดยนำขึ้นทูลเกล้าให้ทรงลงพระปรมาภิไธย โดยมีหัวหน้าคณะปฏิวัติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการประกาศใช้ เช่น พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 และ พ.ศ. 2520 เป็นต้น
ในสถานการณ์ปกติ การจัดทำรัฐธรรมนูญ จะมีการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งคณะบุคคลขึ้นมาทำหน้าที่ยกร่างและพิจารณา อาจเรียกว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ หรืออาจมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นก็ได้ เมื่อยกร่างและพิจารณาเสร็จแล้วก็จะนำขึ้นทูลเกล้าให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้โดยมีสภาดังกล่าวเป็นผู้รับสอนพระบรมราชโองการ เช่น การจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับปัจจุบัน เป็นต้น
การจัดทำพระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา มีขั้นตอนและวิธีการดังนี้
การเสนอร่างพระราชบัญญัติ
ผู้ที่มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ ได้แก่ คณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพรรคการเมืองที่สังกัดมีมติให้เสนอได้ และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งสังกัดพรรคการเมืองเดียวกันลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000คน เสนอร่างพระราชบัญญัติได้เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ หรือแนวนโยบายแห่งรัฐ ร่างพระราชบัญญัติที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอ ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเงินต้องให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับรองด้วย
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ผู้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ได้แก่ รัฐสภา โดยต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรก่อน แล้วจึงเสนอให้วุฒิสภาพิจารณา
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณาโดยแบ่งออกเป็น 3 วาระ คือ
วาระที่ 1 รับหลักการ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเฉพาะ หลักการของร่างพระราชบัญญัติว่า เกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง มีความเหมาะสม จำเป็นหรือไม่ โดยไม่พิจารณารายละเอียดอื่น ๆ แล้วลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่ ถ้าไม่รับหลักการก็ตกไป ถ้ารับหลักการก็จะตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณารายละเอียด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนมีสิทธิเสนอขอเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม ต่อประธานคณะกรรมาธิการ เรียกว่า แปรญัตติ
วาระที่ 2 แปรญัตติ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ที่มีการขอแปรญัตติ และลงมติเฉพาะมาตรานั้นว่าจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ หรือคงไว้ตามเดิม
วาระที่ 3 ลงมติให้ความเห็นชอบ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร จะลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมใด ๆ อีกไม่ได้ ถ้าไม่เห็นชอบก็ตกไป ถ้าเห็นชอบด้วยก็ส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา
วุฒิสภาจะพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมา โดยแบ่งออกเป็น 3 วาระ เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎร และจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน ต้องพิจารณาให้เสรีภายใน 30 วัน ถ้าไม่เสรีที่ประชุมอาจลงมติให้ขยายเวลาออกไปได้อีก 30 วัน ถ้าไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าวุฒิสภาให้ความเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัตินั้น
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี สภาผู้แทนราษฎรต้องพิจารณาให้เสรีภายใน 105 วัน และวุฒิสภาต้องพิจารณาให้เสรีภายใน 20 วัน ถ้าไม่เสรีภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบ
ถ้าวุฒิสภามีมติไม่เห็นชอบ ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อนและส่งคืนสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลา 180 วันได้ล่วงพ้นไป ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างพระราชบัญญัติเดิม ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
การตราร่างพระราชบัญญัติ
ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ภายใน 20 วัน โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการร่างพระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้ว มิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภาลงมติยีนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ให้นายรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้า ฯ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้บังคับเป็นกฎหมายเสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
การประกาศใช้พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
การจัดทำพระราชกำหนด
พระราชกำหนดเป็นกฎหมายที่ออกโดยผ่ายบริหาร ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นให้ใช้บังคับ เช่น พระราชบัญญัติ โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี แล้วนำเสนอให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติ พระราชกำหนดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. พระราชกำหนดทั่วไป จะออกได้ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลดภัยของประเทศ หรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือป้องปัดพิบัติสาธารณะ
2. พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา จะออกได้ในระหว่างสมัยประชุม กรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งต้องได้รับพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน
การเสนอร่างพระราชกำหนด
ผู้เสนอร่างพระราชกำหนด ได้แก่ รัฐมนตรีที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ เช่น ถ้ามีความจำเป็นจะต้องขึ้นภาษีอากรอย่างรับด่วน ซึงต้องพิจารณาเป็นความลับ การขึ้นภาษีอากรนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวข้องก้บกระทรวงพาณิชย์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้เสนอ เป็นต้น
การเสนอร่างพระราชกำหนด
ผู้เสนอร่างพระราชกำหนด ได้แก่ รัฐมนตรีที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ เช่น ถ้ามีความจำเป็นจะต้องขึ้นภาษีอากรอย่างรีบด่วน ซึ่งต้องพิจารณาเป็นความลับ การขึ้นภาษีอากรนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้เสนอ เป็นต้น
การพิจารณาร่างพระราชกำหนด
ผู้พิจารณาร่างพระราชกำหนด คือ คณะรัฐมนตรี โดยจะพิจารณาว่าพระราชกำหนดนั้นเป็นเรื่องฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วนหรือไม่ แล้วลงมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติ ถ้าอนุมัติก็ตกไป
การตราพระราชกำหนด
ผู้ตราพระราชกำหนด ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชกำหนดที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงปรมาภิไธย และลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
การประกาศใช้พระราชกำหนด
พระราชกำหนดที่พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อนำไปประกาศในราชกิจจินุเบกษาแล้ว จึงจะมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายพระราชกำหนดที่ประกาศใช้แล้ว คณะรัฐมนตรีจะต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภา ถ้าเป็นพระราชกำหนดทั่วไปจะต้องเสนอโดยไม่ชักช้า ถ้าอยู่นอกสมัยประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้นโดยเร็ว ถ้าเป็นพระราชกำหนดที่เกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตราต้องนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรภายใน 3 วัน การพิจารณาพระราชกำหนดของสภา จะพิจารณาเช่นเดียวกับการพิจารณาพระราชบัญญัติแล้วลงมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติ ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติ พระราชกำหนดนั้นตกไป สิ้นผลบังคับใช้ไม่เป็นกฎหมายอีกต่อไป แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้เป็นไประหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น ถ้ารัฐสภาอนุมัติพระราชกำหนดนั้นมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป และการพิจารณาต้องกระทำในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภานั้น ๆ การอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด ให้นายกรัฐมนตรีประกาศใน
การจัดทำพระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี พระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์รองลงมาจากพระราชบัญญัติ การออกพระราชกฤษฎีกาต้องอาศัยกฎหมายอื่นที่มีศักดิ์สูงกว่าซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทให้อำนาจให้ออกได้ เช่น การจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา หรือพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 บัญญัติให้การแบ่งส่วนราชการในสำนักเลขานุการรัฐมนตรี กรม หรือส่วนรายการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ให้ตราเป็นพระราช-กฤษฎีกา เป็นต้น ดังนั้นการออกพระราชกฤษฎีกาจะขัดต่อกฎหมายแม่บทไม่ได้
การเสนอร่างพระกฤษฎีกา
ผู้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ รัฐมนตรีผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับกระทรวงใด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้นก็เป็นผู้เสนอ เช่นพระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็เป็นผู้เสนอ เป็นต้น
การพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา
ผู้พิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ คณะรัฐมนตรี โยพิจารณาว่าพระราชกฤษฎีกานั้น มีกฎหมายฉบับใดให้อำนาจออกได้หรือไม่ มีข้อความใดขัดแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่บทหรือไม่
การตราพระราชกฤษฎีกา
ผู้ตราพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ พระมหากษัตริย์ เอคณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาแล้ว เห็นว่าเหมาะสมและใช้ได้ก็จะนำพระราชกฤษฎีกานั้นขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย โดยมีรัฐมนตรีผู้เกี่ยวข้องเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
การประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาที่พระมหากษัตริย์ทรงทลพระปรมาภิไธย เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจึงจะมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
การจัดทำกฎกระทรวง
กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ซึ่งรัฐมนตรีผู้รับการตามพระราชบัญญัติ ได้ออกเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ ดังนั้นกฎกระทรวงจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายแม่บท
การเสนอกฎกระทรวง
ผู้เสนอกฎกระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรีผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น กล่าวคือ เป็นเรื่องของกระทรวงใด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้นก็เป็นผู้เสนอ
การพิจารณากฎกระทรวง
ผู้พิจารณากฎกระทรวง ได้แก่ คณะรัฐมนตรี โดยจะพิจารณากลั่นกรองว่ามีข้อความใดขัดแย้งกับกฎหมายแม่บทหรือขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือไม่
การตรากฎกระทรวง
ผู้ตรากฎกระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้น ๆ เป็นผู้ลงนามประกาศใช้
การประกาศใช้กฎกระทรวง
กฎกระทรวงที่รัฐมนตรีลงนามแล้ว เมื่อนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจึงจะมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายนอกจากนี้ยังมีประกาศกระทรวง ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมีอกนาจออกได้โดยอาศัยกฎหมายแม่บทเช่นเดียวกับกฎกระทรวง แต่ไม่ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงผู้รับผิดชอบเป็นผู้ลงนาม แล้วประกาศในราชกิจจนุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
การจัดทำกฎหมายท้องถิ่น
กฎหมายท้องถิ่นหรือกฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง เป็นการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นปกครองตนเอง โดยออกกฎหมายใช้บังคับในท้องถิ่นตนเองได้ ปัจจุบันประเทศไทยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 รูป ซึ่งสามารถออกกฎหมายใช้บังคับในท้องถิ่นของตนเองได้ คือ
1. เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่เทศบาลจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตเทศบาลนั้น ๆ
2. ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด จัดทำขึ้นใช้ในเขตจังหวัดนั้น ๆ
3. ข้อบังคับตำบล เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตตำบลนั้น ๆ
4. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกฎหมายที่กรุงเทพมหานครจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตกรุงเทพมหานคร
5. ข้อบังคับเมืองพัทยา เป็นกฎหมายที่เมืองพัทยาจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตเมืองพัทยา
การบังคับใช้กฎหมาย
กฎหมายที่ผ่านกระบวนการจัดทำและประกาศใช้แล้วย่อมมีผลบังคับใช้ได้ การบังคับข้อกฎหมายจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วันเริ่มบังคับใช้กฎหมาย อาณาเขตที่กฎหมายใช้บังคับ และบุคคลที่กฎหมายใช้บังคับ
วันเริ่มบังคับใช้กฎหมาย
วันเริ่มบังคับใช้กฎหมายจะมีผลตั้งแต่เมื่อใดนั้น โดยทั่วไปในกฎหมายนั้นจะระบุวัน เวลา ที่กฎหมายจะเริ่มมีผลบังคับใช้ไว้ด้วย ซึ่งอาจจะไม่ใช่วันเดียวกันกับวันที่ประกาศใช้กฎหมายก็ได้ แต่ถ้าในกฎหมายนั้นไม่ได้ระบุวันที่จะเริ่มบังคับใช้ไว้ ก็จะมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักที่ว่า “กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง” เว้นแต่บางกรณีที่มี่ความจำเป็นจะต้องบังคับใช้ย้อนหลัง ก็จะมีการระบุไว้ชัดเจนในกฎหมายนั้นว่า ให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง วันเริ่มบังคับใช้กฎหมายอาจกำหนดได้ดังนี้
1. ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศกิจจานุเบกษา จะใช้ในกรณีรีบด่วนโดยให้กฎหมายนั้นมีผลบังคับใช้ทันทีตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้กฎหมายจะต้องไปค้นดูว่าราชกิจจานุเบกษาลงประกาศวันใด ก็จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันไหนเป็นต้นไป
2. ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีปกติโดยทั่วไป วันเริ่มบังคับใช้กฎหมายจะให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งผู้ใช้กฎหมายจะต้องไปค้นดูว่าราชกิจจานุเบกษาลงประกาศวันใดวันถัดมากฎหมายนั้นก็จะมีผลบังคับใช้เพื่อให้ประชาชนได้ทราบล่วงหน้าก่อน 1 วัน
3. ใช้บังคับในอนาคต ในกรณีที่จะต้องให้เจ้าหน้าที่ ส่วนราชการ หรือประชาชน ได้จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วันเริ่มบังคับใช้กฎหมายจะกำหนดไว้ล่วงหน้า โดยกำหนดให้ระยะเวลาผ่านพ้นไประยะหนึ่ง จึงจะให้กำหมายมีผลบังคับใช้ เช่นพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้กฎหมายก็จะต้องไปค้นดูราชกิจจานุเบกษาว่าลงประกาศวันใด แล้วต้องรอให้ผ่านพ้นไปอีกสิบห้าวัน กฎหมายนั้นจึงจะมีผลบังคับใช้ได้
อาณาเขตที่กฎหมายใช้บังคับ
โดยหลักทั่วไปกฎหมายของรัฐใดประเทศใด ย่อมจะใช้บังคับเฉพาะในอาณาเขตของรัฐนั้นหรือประเทศนั้นโดยตลอดทั่วทั้งรัฐหรือประเทศ กฎหมายจึงมีผลบังคับใช้เฉพาะในอาณาเขตประเทศไทยซึ่งเรียกว่า “ราชอาณาจักรไทย” ซึ่งหมายถึง
1.พื้นดินและพื้นน้ำในอาณาเขตประเทศไทย รวมทั้งภูเขา แม่น้ำ อุโมงค์ และใต้ดินด้วย
2.ทะเลอันห่างจากชายฝั่งที่เป็นดินแดนของประเทศไทยไม่เกิน12 ไมล์ทะเล
3.ทะเลอันเป็นอ่าวไทย
4.พื้นอากาศเหนือพื้นดินและทะเลอันเป็นอาณาเขตประเทศไทย
อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นบางกรณีเกี่ยวกับอาณาเขตกฎหมายไทยใช้บังคับคือ
กรณียกเว้นบังคับใช้ออกไปนอกราชอาณาจักร ได้แก่ การกระทำความผิดในเรือหรืออากาศยานไทยไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดให้ถือว่ากระทำผิดในราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร เช่น ความผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง เช่น ปลอมเงินตรา หรือความผิดฐานชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ ซึ่งได้กระทำในทะเลหลวง ฯลฯ เป็นต้น
กรณียกเว้นไม่บังคับใช้ตลอดทั่วราชอาณาจักร อาจจะเนื่องมาจากสภาพภูมิศาสตร์ สังคม ศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม เล่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา สตูล พ.ศ. 2498 ใช้บังคับเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามที่มีภูมิลำเนาในเขต 4 จังหวัดภาคใต้ดังกล่าว เป็นต้น
บุคคลที่กฎหมายบังคับ
โดยหลักทั่วไปกฎหมายของรัฐใดประเทศใด ย่อมจะใช้บังคับแกบุคคลทุกคนที่อยู่ในรัฐนั้นหรือประเทศนั้น กฎหมายไทยจึงมีผลใช้บังคับกับทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนสัญชาติใด เชื้อชาติใด ก็ตาม แต่ก็มีข้อยกเว้นตามกฎหมายบางประเทศ ที่จะไม่ใช้บังคับกับบุคคลบางคน
ข้อยกเว้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
1. พระมหากษัตริย์ องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพ ผู้ใดจะละเมิดได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้
2. สมาชิกรัฐสภา ในระหว่างสมัยประชุมห้ามมิให้จับ คุมขังหรือหมายเรียกตัว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ไปทำการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา เว้นแต่กรณีที่ได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก หรือในกรณีขณะกระทำความผิด ในกรณีที่มีการจับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาขณะกระทำความผิด ให้รายงานไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็น สมาชิกโดยพลัน และประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกอาจสั่งให้ปล่อยผู้ถูกจับได้และในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมสภาวุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำใดในทางแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นในทางใดมิได้
ข้อยกเว้นตามกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
1. ประมุของรัฐต่างประเทศ
2. ทูตและบริวาร
3. กองทัพที่เข้ามายึดครองอาณาจักร
4. บุคคลอื่นกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองให้ได้รับเอกสิทธิ์และคุ้มครอง
5. บุคคลที่มีกฎหมายพิเศษให้ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครอง เช่น บุคคลที่ทำงานในองค์การระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก ได้แก่ องค์การสหประชาชาติ ฯลฯ เป็นต้น
บุคคลและสถาบันผู้ใช้กฎหมาย
การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวข้องกับบุคคลและสถาบันหลายฝ่าย ได้แก่ ราษฎร เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ อัยการ และศาลยุติธรรม
ประชาชน
ในชีวิตประจำวันของประชาชนนั้น ต้องกระทำสิ่งต่าง ๆ มากมาย การกระทำเหล่านั้นจะมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยตลอดเวลา ดังนั้นประชาชนซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย จึงเป็นผู้ใช้กฎหมายโดยตรง
เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หมายถึง เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ได้แก ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้งพัสดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง และเจ้าพนักงานอื่น ๆ ซึ่งมีหน้าที่สืบสวน จับกุม ป้องก้น และปราบปรามการทำความผิดในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีบทบาทหน้าที่มากที่สุด เมื่อมีการกระทำผิดกฎหมาย ตั้งแต่สืบสวน จับกุม สอบสวน ตลอดจนเปรียบเทียบในคดีอาญาทั่ว ๆ ไป
พนักงานอัยการ พนักงานอัยการ หมายถึง เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล อาจจะเป็นข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเจ้าพนักงานอื่นที่มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลก็ได้ แต่โดยทั่วไปจะหมายถึงข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งมีอำนาจดำเนินคดีทั้งปวงแทนรัฐ โดยเป็นโจทย์ในคดีอาญา ทำหน้าที่ตรวจสำนวนการสอบสวนว่ามีพยานหลักฐานพอฟ้องหรือไม่ (ผู้เสียหายอาจตั้งทนายเป็นโจทย์ฟ้องคดีเองก็ได้) ตลอดจนเป็นทนายโจทย์หรือทนายจำเลย ว่าความในคดีแพ่งคดีอาญาทั้งปวงให้ส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ
ทนายความ ทนายความ หมายถึง ผู้ที่เรียนจบวิชากฎหมายและจดทะเบียนรับอนุญาตให้มีสิทธิว่าความในศาล ทนายความเป็นอาชีพอิสระ มีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริงเสนอต่อศาล ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายโจทย์หรือจำเลย คดีแพ่งหรือคดีอาญาก็ตามความจริงก็ไม่มีกฎหมายห้ามประชาชนผู้เป็นโจทย์หรือจำเลยไม่ให้ว่าความด้วยตนเอง แต่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้กฎหมายลึกซึ้ง จึงจำเป็นต้องมีทนายความช่วยเหลือ บางกรณีจำเลยในคดีอาญายากจน ไม่มีเงินจ้างทนายความอาจร้องขอให้ศาลตั้งทนายว่าความให้จำเลยก็ได้ คดีประเภทนี้เรียกว่า “คดีศาลขอแรง” และทนายก็เรียกว่า “ทนายขอแรง” ศาล
ศาล หมายถึง ศาลยุติธรรม หรือผู้พิพากษา ซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั่งปวง
การตีความกฎหมาย
การตีความกฎหมาย หมายถึง การค้นหาความหมายของถ้อยคำในตัวบทกฎหมายเพื่อนำไปปรับใช้กับข้อเท็จจริง เนื่องมาจากการใช้กฎหมายครั้งอาจเกิดปัญหาว่า ถ้อยคำในตัวบทกฎหมายไม่ชัดเจน เคลือบคลุมหรือมีความหมายได้หลายนัย จึงจำเป็นจะต้องมีการตีความกฎหมาย ซึ่งกระทำได้ 2 กรณี คือ การตีความตามตัวอักษร และการตีความตามเจตนารมณ์
การตีความตามตัวอักษร
การตีความตามตัวอักษร เป็นการค้นหาความหมายจากตัวอักษรของกฎหมาย มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. กรณีที่เป็นภาษาสามัญ ต้องตีความหมายอย่างที่เข้าใจกันโดยทั่วไปตามธรรมดาสามัญ หรือให้ถือเอาตามพจนานุกรม
2. กรณีที่เป็นศัพท์วิชาการหรือศัพท์เทคนิค ต้องตีความหามายอย่างที่เข้าใจกันในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ
3. กรณีที่กฎหมายประสงค์จะให้มีความหมายพิเศษไปจากที่เข้าใจกันตามธรรมดาสามัญ ในกฎหมายนั้นจะทำบทวิเคราะห์ศัพท์หรือนิยามไว้ในมาตราแรก ๆ ก็ต้องถือเอาความหมายตามบทวิเคราะห์ศัพท์หรือนิยามนั้น เช่น ประมวลกฎหมายอาญา บทนิยาม มาตรา 1 (11) บัญญัติว่า “กลางคืน” หมายความว่า เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น เป็นต้น
การตีความหมายตามเจตนารมณ์ การตีความตามเจตนารมณ์ เป็นการตีความเพื่อหยั่งทราบความมุ่งหมายหรือความต้องการของกฎหมายนั้น ๆ ซึ่งมีสิ่งที่จะต้องพิจารณา คือ ซึ่งของกฎหมายคำปรารภ ทนายเหตุท้ายมาตราต่าง ๆ รายงานการประชุมยกร่างกฎหมายนั้น เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะบอกได้ว่า เพราะเหตุใด หรือ ต้องการอะไร จึงบัญญัติกฎหมายไว้เช่นนี้
สำหรับกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษรุนแรงถึงประหารชีวิต และกระทบกระเทือนสิทธิ เสรีภาพของประชาชน การตีความกฎหมายอาญาจึงต้องมีกฎเกณฑ์พิเศษ คือ
1. ต้องตีความโดยเคร่งครัด หมายความว่า จะถือเป็นความผิดและลงโทษผู้กระทำผิดได้ จะต้องเป็นกฎหมายระบุไว้โดยชัดแจ้งเท่านั้น
2. จะตีความให้เป็นผลร้ายแก่บุคคลมิได้ กล่าวคือ จะตีความขยายความให้เป็นการลงโทษ หรือเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดให้หนักขึ้นไม่ได้
3. กรณีเป็นที่สงสัย จะต้องตีความในบางทีเป็นผลดีแก่ผู้กระทำความผิด กล่าวคือ ถ้าพยานหลักฐานไม่ชัดเจน ยังเป็นที่เคลือบคลุม ยังสงสัย หรือไม่แน่ใจว่าจำเลยกระทำความผิดจริงหรือไม่ ต้องยกประโยชน์ให้จำเลย ถือว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด ซึ่งเป็นไปตามสุภาษิตทางกฎหมายที่ว่า “ปลอบคนผิดสิบคนดีกว่าการที่จะลงโทษคนบริสุทธิ์คนเดียว”
ช่องว่างของกฎหมาย
ช่องว่างของกฎหมาย หมายถึง กรณีที่ผู้ใช้กฎหมายไม่สามารถจะหาตัวบทกฎหมายปรับใช้กับดีที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากผู้ยกร่างอาจจะฉีกไม่ถึง เพราะเหตุการณ์ยังไม่เคยเกิดขึ้น จึงไม่ได้บัญญัติไว้ จึงจำเป็นจะต้องมีวิธีการอุดช่องว่างของกฎหมาย
การอุดช่องว่างกฎหมาย
เมื่อเกิดช่องว่างของกฎหมายนี้ ถ้ากฎหมายนั้นกำหนดวิธีการอุดช่องว่างเอาไว้แล้ว จะต้องทำตามวิธีการที่กฎหมายนั้นกำหนดไว้ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรค 2 และวรรค 4 กำหนดวิธีการอุดช่องว่างเอาไว้ว่า เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ให้ใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ถ้าไม่มีกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็ให้ใช้หลักกฎหมายทั่วไป ในกรณีที่กฎหมายนั้นไม่ได้กำหนดวิธีการอุดช่องว่างเอาไว้ ศาลจะต้องพยายามกาหลักเกณฑ์มาพิจารณาวินิจฉัยให้ได้เสมอ ศาลจะอ้างเหตุไม่รับฟ้องหรือยกฟ้องคดี โดยอ้างว่าไม่มีกฎหมายที่จะนำมาใช้ปรับแก่คดีไม่ได้ในกฎหมายอาญานั้น ศาลอาจจะอุดช่องว่างของกฎหมายได้ ก็เฉพาะในทางที่เป็นคุณหรือเป็นผลดีแก่จำเลยเท่านั้น
การยกเลิกกฎหมาย การยกเลิกกฎหมาย คือ การทำให้กฎหมายสิ้นสุดการบังคับใช้ ซึ่งกระทำได้ทั่งการยกเลิกโดยตรงและโดยปริยาย
การยกเลิกกฎหมายโดยตรง เป็นกรณีที่ที่มีกฎหมายระบุให้ยกเลิกไว้อย่างชัดแจ้งมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. กฎหมายนั้นกำหนดวันยกเลิกเอาไว้เอง เช่น บัญญัติเอาไว้ว่า “พระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปเป็นเวลาสองปี” เมื่อครบกำหนด 2 ปี กฎหมายนั้นก็สิ้นสุดการบังคับใช้ไปเอง
2. ออกกฎหมายใหม่มายกเลิก โดยกฎหมายฉบับใหม่ที่ออกมานั้นเป็นกฎหมายเรื่องเดียวกัน และมีบทบัญญัติระบุให้ยกเลิก เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มีบัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 เป็นต้น
3. เมื่อรัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนด พระราชกำหนดเมื่อประกาศใช้แล้ว จะต้องให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติอีกครั้งหนึ่ง ถ้ารัฐสภามีมติไม่อนุมัติ พระราชกำหนดนั้นก็จะสิ้นสุดการบังคับใช้
การยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย
เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายใดระบุให้ยกเลิกไว้อย่างขัดแจ้ง มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. เมื่อกฎหมายใหม่และกฎหมายเก่ามีบทบัญญัติกรณีหนึ่งเป็นอย่างเดียวกัน ให้ใช้กฎหมายใหม่ ถือว่ากฎหมายเก่าถูกยกเลิกไปโดยปริยาย
2. เมื่อกฎหมายใหม่มีข้อความขัดแย้งกับกฎหมายเก่า ให้ใช้กฎหมายใหม่ถือว่ากฎหมายเก่าถูกยกเลิกไปโดยปริยายทั้ง 2 กรณี ดังกล่าวต้องใช้กฎหมายใหม่ เพราะเหตุว่า บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าขึ้น สถานการณ์บ้านเมืองย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา กฎหมายเก่าที่ใช้มาเป็นเวลานานอาจจะไม่เหมาะสมกับยุคสมัย การใช้กฎหมายใหม่ย่อมเหมาะสมกับสถานการณ์มากกว่า
3. กฎหมายแม่บทยกเลิกกฎหมายบริวารถูกยกเลิกด้วย กฎหมายบริวารหรือกฎหมายลูกที่ออกมาใช้โดยอาศัยกฎหมายแม่บท เมื่อกฎหมายแม่บทถูกยกเลิก ถือว่ากฎหมายบริวารถูกยกเลิกไปโดยปริยาย
ความหมายของกฎหมาย
กฎหมายนั้นมีความหมายอยู่หลายประการ ซึ่งความหมายจะแปรเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น
ลักษณะของสังคมที่แตกต่างกัน สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ความต้องการของประชาชนในสังคม
นั้น ๆ แต่หลักที่สำคัญและเป็นความหมายของกฎหมายโดยทั่วไปจะมีอยู่ 4 ประการ คือ
1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่ง
2. กฎหมายถูกกำหนดขึ้นโดยผู้มีอำนาจในสังคม
3. กฎหมายใช้บังคับและเป็นที่ทราบแก่คนทั่วไป
4. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับแก่ผู้ฝ่าฝืน
-ความสำคัญของกฎหมาย
ในสังคมของมนุษย์นั้นมีสมาชิกจำนวนมากที่มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิดเห็นและพฤติกรรมต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีกฎระเบียบหรือกติการ่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่างๆ ดังนี้
1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมทุกคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม
2. กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พลเมืองไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ กฎหมายจะเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย
3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม คนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรม
4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐเป็นผู้จัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้น ย่อมส่งผลให้ คุณภาพด้านการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น หรือการที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ย่อมทำให้สังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมีมาตรฐานดีขึ้น
องค์ประกอบของกฎหมาย
1. กฎหมายเป็นบทบัญญัติ
2. ผู้มีอำนาจตรากฎหมาย จะต้องเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ
3. บทบัญญัติที่กำหนดไว้ มี 2 ประเภท คือ
-บทบัญญัติ ที่ใช้ในการบริหารบ้านเมือง
-บทบัญญัติที่ใช้บังคับบุคคล ในความสัมพันธ์ระหว่างกัน (ไม่เกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง)
4. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องได้รับโทษ หรือ ต้องถูกบังคับให้ปฏิบัติตาม
ประเภทของกฎหมาย
กฎหมายที่ใช้บังคับในรัฐมีอยู่หลายรูปแบบและหลายประการ ในที่นี้สามารถแบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
กฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่ร่างขึ้นเป็นตัวหนังสือ ผ่านขั้นตอน / กระบวนการอย่างเป็นระเบียบแบบแผนข้อความในกฎหมายจะปรากฎเป็นบทบัญญัติมาตราต่าง ๆ สามารถค้นหาได้ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา เป็นต้น
2. กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร จะไม่มีการร่างเป็นตัวบทกฎหมาย แต่จะอาศัยจารีตประเพณีที่ปฏิบัติกันมาจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นกฎหมาย รวมถึง คำวินิจฉัยของศาลที่ใช้ซ้ำ ๆ จนสามารถนำเป็นหลักพิจารณาคดีให้กับศาลในช่วงหลัง ๆ
ศักดิ์ของกฎหมาย
ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย หมายถึง ลำดับฐานะความสูงต่ำของกฎหมาย มีความสำคัญในการตีความ
และการใช้กฎหมายบังคับ เพราะกฎหมายที่มีศักดิต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่ามิได้
ประโยชน์ของการจัดลำดับชั้นของกฎหมายตามศักดิ์มีมากในทางปฏิบัติ ในการแก้ไขเพิ่มเติม
หรือยกเลิกกฎหมายแม่บท เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การะทำโดยตรารัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
การยกเลิกพระราชกฤษฎีกา ก็ต้องตราพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่ จะออกกฎกระทรวงยกเลิกพระราชกฤษฎีกาไม่ได้
เป็นต้น
การจัดลำดับชั้นของกฎหมายมี ๗ ลำดับดังนี้
๑. รัฐธรรมนูญ
๒. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
๓. พระราชบัญญัติ
๔. พระราชกำหนด
๕. พระราชกฤษฎีกา
๖. กฎกระทรวง
๗. กฎหมายที่ตราโดยองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่มาของกฏหมาย
แหล่งที่มาของกฏหมายมีอยู่มากมายหลายทาง และมีวิวัฒนาการหรือเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ทังนี้สามารถแบ่งแหล่งที่มาของกฏหมายได้ดังนี้
•จารีตประเพณี เป็นแนวปฏิบัติที่ใช้ในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ซึ่งไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเรื่องของการยึดถือและปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน
•การออกกฏหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ ในการปกครองระบอบราชาธิปไตย การออกกฏหมายจะเป็นพระบรมราชโองการของกษัตริย์ ต่อมาอำนาจในการออกกฏหมายเป็นของสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการออกกฏหมายโดยเฉพาะ ที่สำคัญคือ สถาบันรัฐสภาหรือสภานิติบัญญัติ ปัจจุบันรัฐที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐสภาเป็นแหล่งออกกฏหมายโดยตรง
•คำสั่งและกฤษฏีกาที่ออกโดยฝ่ายบริหาร เป็นกฏหมายที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้ออกมาบังคับใช้
•คำพิพากษาของศาล คำพิพากษาของศาลคือแหล่งที่มาของกฏหมายนั้นๆ เช่น กรณีที่ผู้พิพากษาเคยตัดสินคดีในลักษณะเดียวกันนี้มาก่อน เมื่อมีคดีลักษณะเช่นเดียวกันเกิดขึ้นมาอีก ผู้พิพากษาจะยึดเอาคำตัดสินที่แล้วมาเป็นหลัก
•ความคิดเห็นของนักวิชาการ นักวิชาการกฏหมายมีส่วนช่วยให้เกิดกฏหมายใหม่ๆ ขึ้นบังคับใช้ในสังคม หรือนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงกฏหมายต่างๆ ทีไม่มีความยุติธรรมหรือไม่มีความเท่าเทียมกันในสังคม ให้มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น กฏหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา กฏหมายเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลงอายุของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจาก 20 ปี เป็น 18 ปี ฯลฯ
วิวัฒนาการของกฎหมายไทย
สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา กฎหมายไทยได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของฮินดู ซึ่งเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการแกครองแต่เพียงผู้เดียว ต้องปกครองบ้านเมืองไพร่ฟ้าประชาชนด้วยความเป็นธรรม ยุติธรรม และมีเมตตาธรรม และพระราชศาสตร์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์สร้างขึ้นจากการวินิจฉัยอรรถคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและสะสมต่อ ๆ กันมา โดยยึดหลักว่า จะต้องสอดคล้องกับคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ด้วย นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นเอง โดยเฉพาะสมัยกรุงศรีอยุธยามีเป็นจำนวนมากตามความต้องการและความจำเป็นในแต่ละยุคแต่ละสมัย เช่น กฎหมายลักษณะอาญาหลวง กฎหมายลักษณะพยาน กฎหมายลักษณะโจร กฎหมายลักษณะผัวเมีย ฯลฯ เป็นต้น
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดให้มีการรวบรวมและตรวจชำระกฎหมายครั้งใหญ่ ฎหมายเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่กระจัดกระจาย ชำรุด หรือสูญหาย เมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 โดยนำมารวบรวมจัดเป็นหมวดหมู่ แก้ไขความคลาดเคลื่อน ความไม่ยุติธรรมที่ตรวจพบ และเพิ่มเติมในบางส่วนที่ขาดหายไปขึ้นมาใหม่ เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากปัญหาการบังคับใช้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต ของชาติตะวันตก ซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ทรงโปรดให้มีการปฏิรูปการศาลยุติธรรมและระบบกฎหมายครั้งใหญ่ โดยจัดระเบียบการศาลยุติธรรมใหม่ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายตามคำกราบบังคมทูลของกรมหลวงราชบุรดิเรกฤทธิ์ ซึ่งทรงเป็นครูสอนกฎหมายเองด้วย และทรงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2440 ซึ่งประกอบด้วยนักกฏหมายไทยและต่างประเทศ คณะกรรมการชุดนี้ได้ทำการร่างและประกาศใช้ ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ซึ่งถือว่าเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย ต่อมามีการปรับปรุงอีก 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2486 และ 2499 เรียกว่า ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยต่อ ๆ มาก็ได้มีการร่างและประกาศใช้ประมวลกฎหมายอื่น ๆ อีกหลายฉบับ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายวิถีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ฯลฯ เป็นต้น
การปฏิรูปกฎหมายศาลยุติธรรมและการประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ทำให้ประเทศไทยหมดยุคกฎหมายเก่า และเข้าสู่ยุคขบวนกฎหมายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การจัดทำกฎหมายไทย
ประเทศไทยเริ่มใช้ระบบประมวลกฎหมาย มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบันมีการจัดทำกฎหมายขึ้นใช้หลายรูปแบบ เรียงตามลำดับฐานะหรือความสำคัญของกฎหมาย4 จากสูงไปต่ำ ดังนี้ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ (พระราชกำหนดประมวลกฎหมาย) พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และกฎหมายท้องถิ่น การจัดทำกฎหมายรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ มีขั้นตอนและวิธีการแตกต่างกัน ดังนี้
การจัดทำรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประชาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดรูปแบบการปกครองและระเบียบการบริหารประเทศ ผู้ที่มีอำนาจจัดหาสูงสุดในการปกครองประเทศขณะนั้น ไม่ว่าจะได้อำนาจมา โดยวิธีใดก็ตาม อาจจะเป็นประมุขของประเทศ หรือหัวหน้าคณะปฏิวัติหรอรัฐประหาร ที่ต้องการเปลี่ยนการปกครองจากการใช้กำลัง มาเป็นการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ ในสถานการณ์ที่มีการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง การจัดทำรัฐธรรมนูญอาจกระทำอย่างรวบรัด ตั้งแต่การยกร่าง การพิจารณาโดยไม่เปิดเผย แล้วประกาศใช้เลยก็ได้ แต่โดยหลักการแล้วเท่าที่ผ่านมา หัวหน้าคณะปฏิวัติจะถวายอำนาจการตรารัฐธรรมนูญแต่พระมหากษัตริย์ โดยนำขึ้นทูลเกล้าให้ทรงลงพระปรมาภิไธย โดยมีหัวหน้าคณะปฏิวัติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการประกาศใช้ เช่น พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 และ พ.ศ. 2520 เป็นต้น
ในสถานการณ์ปกติ การจัดทำรัฐธรรมนูญ จะมีการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งคณะบุคคลขึ้นมาทำหน้าที่ยกร่างและพิจารณา อาจเรียกว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ หรืออาจมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นก็ได้ เมื่อยกร่างและพิจารณาเสร็จแล้วก็จะนำขึ้นทูลเกล้าให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้โดยมีสภาดังกล่าวเป็นผู้รับสอนพระบรมราชโองการ เช่น การจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับปัจจุบัน เป็นต้น
การจัดทำพระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา มีขั้นตอนและวิธีการดังนี้
การเสนอร่างพระราชบัญญัติ
ผู้ที่มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ ได้แก่ คณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพรรคการเมืองที่สังกัดมีมติให้เสนอได้ และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งสังกัดพรรคการเมืองเดียวกันลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000คน เสนอร่างพระราชบัญญัติได้เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ หรือแนวนโยบายแห่งรัฐ ร่างพระราชบัญญัติที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอ ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเงินต้องให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับรองด้วย
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ผู้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ได้แก่ รัฐสภา โดยต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรก่อน แล้วจึงเสนอให้วุฒิสภาพิจารณา
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณาโดยแบ่งออกเป็น 3 วาระ คือ
วาระที่ 1 รับหลักการ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเฉพาะ หลักการของร่างพระราชบัญญัติว่า เกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง มีความเหมาะสม จำเป็นหรือไม่ โดยไม่พิจารณารายละเอียดอื่น ๆ แล้วลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่ ถ้าไม่รับหลักการก็ตกไป ถ้ารับหลักการก็จะตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณารายละเอียด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนมีสิทธิเสนอขอเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม ต่อประธานคณะกรรมาธิการ เรียกว่า แปรญัตติ
วาระที่ 2 แปรญัตติ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ที่มีการขอแปรญัตติ และลงมติเฉพาะมาตรานั้นว่าจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ หรือคงไว้ตามเดิม
วาระที่ 3 ลงมติให้ความเห็นชอบ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร จะลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมใด ๆ อีกไม่ได้ ถ้าไม่เห็นชอบก็ตกไป ถ้าเห็นชอบด้วยก็ส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา
วุฒิสภาจะพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมา โดยแบ่งออกเป็น 3 วาระ เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎร และจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน ต้องพิจารณาให้เสรีภายใน 30 วัน ถ้าไม่เสรีที่ประชุมอาจลงมติให้ขยายเวลาออกไปได้อีก 30 วัน ถ้าไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าวุฒิสภาให้ความเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัตินั้น
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี สภาผู้แทนราษฎรต้องพิจารณาให้เสรีภายใน 105 วัน และวุฒิสภาต้องพิจารณาให้เสรีภายใน 20 วัน ถ้าไม่เสรีภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบ
ถ้าวุฒิสภามีมติไม่เห็นชอบ ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อนและส่งคืนสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลา 180 วันได้ล่วงพ้นไป ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างพระราชบัญญัติเดิม ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
การตราร่างพระราชบัญญัติ
ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ภายใน 20 วัน โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการร่างพระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้ว มิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภาลงมติยีนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ให้นายรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้า ฯ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้บังคับเป็นกฎหมายเสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
การประกาศใช้พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
การจัดทำพระราชกำหนด
พระราชกำหนดเป็นกฎหมายที่ออกโดยผ่ายบริหาร ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นให้ใช้บังคับ เช่น พระราชบัญญัติ โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี แล้วนำเสนอให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติ พระราชกำหนดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. พระราชกำหนดทั่วไป จะออกได้ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลดภัยของประเทศ หรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือป้องปัดพิบัติสาธารณะ
2. พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา จะออกได้ในระหว่างสมัยประชุม กรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งต้องได้รับพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน
การเสนอร่างพระราชกำหนด
ผู้เสนอร่างพระราชกำหนด ได้แก่ รัฐมนตรีที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ เช่น ถ้ามีความจำเป็นจะต้องขึ้นภาษีอากรอย่างรับด่วน ซึงต้องพิจารณาเป็นความลับ การขึ้นภาษีอากรนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวข้องก้บกระทรวงพาณิชย์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้เสนอ เป็นต้น
การเสนอร่างพระราชกำหนด
ผู้เสนอร่างพระราชกำหนด ได้แก่ รัฐมนตรีที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ เช่น ถ้ามีความจำเป็นจะต้องขึ้นภาษีอากรอย่างรีบด่วน ซึ่งต้องพิจารณาเป็นความลับ การขึ้นภาษีอากรนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้เสนอ เป็นต้น
การพิจารณาร่างพระราชกำหนด
ผู้พิจารณาร่างพระราชกำหนด คือ คณะรัฐมนตรี โดยจะพิจารณาว่าพระราชกำหนดนั้นเป็นเรื่องฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วนหรือไม่ แล้วลงมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติ ถ้าอนุมัติก็ตกไป
การตราพระราชกำหนด
ผู้ตราพระราชกำหนด ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชกำหนดที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงปรมาภิไธย และลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
การประกาศใช้พระราชกำหนด
พระราชกำหนดที่พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อนำไปประกาศในราชกิจจินุเบกษาแล้ว จึงจะมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายพระราชกำหนดที่ประกาศใช้แล้ว คณะรัฐมนตรีจะต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภา ถ้าเป็นพระราชกำหนดทั่วไปจะต้องเสนอโดยไม่ชักช้า ถ้าอยู่นอกสมัยประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้นโดยเร็ว ถ้าเป็นพระราชกำหนดที่เกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตราต้องนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรภายใน 3 วัน การพิจารณาพระราชกำหนดของสภา จะพิจารณาเช่นเดียวกับการพิจารณาพระราชบัญญัติแล้วลงมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติ ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติ พระราชกำหนดนั้นตกไป สิ้นผลบังคับใช้ไม่เป็นกฎหมายอีกต่อไป แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้เป็นไประหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น ถ้ารัฐสภาอนุมัติพระราชกำหนดนั้นมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป และการพิจารณาต้องกระทำในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภานั้น ๆ การอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด ให้นายกรัฐมนตรีประกาศใน
การจัดทำพระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี พระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์รองลงมาจากพระราชบัญญัติ การออกพระราชกฤษฎีกาต้องอาศัยกฎหมายอื่นที่มีศักดิ์สูงกว่าซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทให้อำนาจให้ออกได้ เช่น การจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา หรือพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 บัญญัติให้การแบ่งส่วนราชการในสำนักเลขานุการรัฐมนตรี กรม หรือส่วนรายการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ให้ตราเป็นพระราช-กฤษฎีกา เป็นต้น ดังนั้นการออกพระราชกฤษฎีกาจะขัดต่อกฎหมายแม่บทไม่ได้
การเสนอร่างพระกฤษฎีกา
ผู้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ รัฐมนตรีผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับกระทรวงใด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้นก็เป็นผู้เสนอ เช่นพระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็เป็นผู้เสนอ เป็นต้น
การพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา
ผู้พิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ คณะรัฐมนตรี โยพิจารณาว่าพระราชกฤษฎีกานั้น มีกฎหมายฉบับใดให้อำนาจออกได้หรือไม่ มีข้อความใดขัดแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่บทหรือไม่
การตราพระราชกฤษฎีกา
ผู้ตราพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ พระมหากษัตริย์ เอคณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาแล้ว เห็นว่าเหมาะสมและใช้ได้ก็จะนำพระราชกฤษฎีกานั้นขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย โดยมีรัฐมนตรีผู้เกี่ยวข้องเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
การประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาที่พระมหากษัตริย์ทรงทลพระปรมาภิไธย เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจึงจะมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
การจัดทำกฎกระทรวง
กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ซึ่งรัฐมนตรีผู้รับการตามพระราชบัญญัติ ได้ออกเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ ดังนั้นกฎกระทรวงจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายแม่บท
การเสนอกฎกระทรวง
ผู้เสนอกฎกระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรีผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น กล่าวคือ เป็นเรื่องของกระทรวงใด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้นก็เป็นผู้เสนอ
การพิจารณากฎกระทรวง
ผู้พิจารณากฎกระทรวง ได้แก่ คณะรัฐมนตรี โดยจะพิจารณากลั่นกรองว่ามีข้อความใดขัดแย้งกับกฎหมายแม่บทหรือขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือไม่
การตรากฎกระทรวง
ผู้ตรากฎกระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้น ๆ เป็นผู้ลงนามประกาศใช้
การประกาศใช้กฎกระทรวง
กฎกระทรวงที่รัฐมนตรีลงนามแล้ว เมื่อนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจึงจะมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายนอกจากนี้ยังมีประกาศกระทรวง ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมีอกนาจออกได้โดยอาศัยกฎหมายแม่บทเช่นเดียวกับกฎกระทรวง แต่ไม่ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงผู้รับผิดชอบเป็นผู้ลงนาม แล้วประกาศในราชกิจจนุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
การจัดทำกฎหมายท้องถิ่น
กฎหมายท้องถิ่นหรือกฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง เป็นการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นปกครองตนเอง โดยออกกฎหมายใช้บังคับในท้องถิ่นตนเองได้ ปัจจุบันประเทศไทยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 รูป ซึ่งสามารถออกกฎหมายใช้บังคับในท้องถิ่นของตนเองได้ คือ
1. เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่เทศบาลจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตเทศบาลนั้น ๆ
2. ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด จัดทำขึ้นใช้ในเขตจังหวัดนั้น ๆ
3. ข้อบังคับตำบล เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตตำบลนั้น ๆ
4. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกฎหมายที่กรุงเทพมหานครจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตกรุงเทพมหานคร
5. ข้อบังคับเมืองพัทยา เป็นกฎหมายที่เมืองพัทยาจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตเมืองพัทยา
การบังคับใช้กฎหมาย
กฎหมายที่ผ่านกระบวนการจัดทำและประกาศใช้แล้วย่อมมีผลบังคับใช้ได้ การบังคับข้อกฎหมายจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วันเริ่มบังคับใช้กฎหมาย อาณาเขตที่กฎหมายใช้บังคับ และบุคคลที่กฎหมายใช้บังคับ
วันเริ่มบังคับใช้กฎหมาย
วันเริ่มบังคับใช้กฎหมายจะมีผลตั้งแต่เมื่อใดนั้น โดยทั่วไปในกฎหมายนั้นจะระบุวัน เวลา ที่กฎหมายจะเริ่มมีผลบังคับใช้ไว้ด้วย ซึ่งอาจจะไม่ใช่วันเดียวกันกับวันที่ประกาศใช้กฎหมายก็ได้ แต่ถ้าในกฎหมายนั้นไม่ได้ระบุวันที่จะเริ่มบังคับใช้ไว้ ก็จะมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักที่ว่า “กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง” เว้นแต่บางกรณีที่มี่ความจำเป็นจะต้องบังคับใช้ย้อนหลัง ก็จะมีการระบุไว้ชัดเจนในกฎหมายนั้นว่า ให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง วันเริ่มบังคับใช้กฎหมายอาจกำหนดได้ดังนี้
1. ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศกิจจานุเบกษา จะใช้ในกรณีรีบด่วนโดยให้กฎหมายนั้นมีผลบังคับใช้ทันทีตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้กฎหมายจะต้องไปค้นดูว่าราชกิจจานุเบกษาลงประกาศวันใด ก็จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันไหนเป็นต้นไป
2. ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีปกติโดยทั่วไป วันเริ่มบังคับใช้กฎหมายจะให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งผู้ใช้กฎหมายจะต้องไปค้นดูว่าราชกิจจานุเบกษาลงประกาศวันใดวันถัดมากฎหมายนั้นก็จะมีผลบังคับใช้เพื่อให้ประชาชนได้ทราบล่วงหน้าก่อน 1 วัน
3. ใช้บังคับในอนาคต ในกรณีที่จะต้องให้เจ้าหน้าที่ ส่วนราชการ หรือประชาชน ได้จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วันเริ่มบังคับใช้กฎหมายจะกำหนดไว้ล่วงหน้า โดยกำหนดให้ระยะเวลาผ่านพ้นไประยะหนึ่ง จึงจะให้กำหมายมีผลบังคับใช้ เช่นพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้กฎหมายก็จะต้องไปค้นดูราชกิจจานุเบกษาว่าลงประกาศวันใด แล้วต้องรอให้ผ่านพ้นไปอีกสิบห้าวัน กฎหมายนั้นจึงจะมีผลบังคับใช้ได้
อาณาเขตที่กฎหมายใช้บังคับ
โดยหลักทั่วไปกฎหมายของรัฐใดประเทศใด ย่อมจะใช้บังคับเฉพาะในอาณาเขตของรัฐนั้นหรือประเทศนั้นโดยตลอดทั่วทั้งรัฐหรือประเทศ กฎหมายจึงมีผลบังคับใช้เฉพาะในอาณาเขตประเทศไทยซึ่งเรียกว่า “ราชอาณาจักรไทย” ซึ่งหมายถึง
1.พื้นดินและพื้นน้ำในอาณาเขตประเทศไทย รวมทั้งภูเขา แม่น้ำ อุโมงค์ และใต้ดินด้วย
2.ทะเลอันห่างจากชายฝั่งที่เป็นดินแดนของประเทศไทยไม่เกิน12 ไมล์ทะเล
3.ทะเลอันเป็นอ่าวไทย
4.พื้นอากาศเหนือพื้นดินและทะเลอันเป็นอาณาเขตประเทศไทย
อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นบางกรณีเกี่ยวกับอาณาเขตกฎหมายไทยใช้บังคับคือ
กรณียกเว้นบังคับใช้ออกไปนอกราชอาณาจักร ได้แก่ การกระทำความผิดในเรือหรืออากาศยานไทยไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดให้ถือว่ากระทำผิดในราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร เช่น ความผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง เช่น ปลอมเงินตรา หรือความผิดฐานชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ ซึ่งได้กระทำในทะเลหลวง ฯลฯ เป็นต้น
กรณียกเว้นไม่บังคับใช้ตลอดทั่วราชอาณาจักร อาจจะเนื่องมาจากสภาพภูมิศาสตร์ สังคม ศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม เล่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา สตูล พ.ศ. 2498 ใช้บังคับเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามที่มีภูมิลำเนาในเขต 4 จังหวัดภาคใต้ดังกล่าว เป็นต้น
บุคคลที่กฎหมายบังคับ
โดยหลักทั่วไปกฎหมายของรัฐใดประเทศใด ย่อมจะใช้บังคับแกบุคคลทุกคนที่อยู่ในรัฐนั้นหรือประเทศนั้น กฎหมายไทยจึงมีผลใช้บังคับกับทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนสัญชาติใด เชื้อชาติใด ก็ตาม แต่ก็มีข้อยกเว้นตามกฎหมายบางประเทศ ที่จะไม่ใช้บังคับกับบุคคลบางคน
ข้อยกเว้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
1. พระมหากษัตริย์ องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพ ผู้ใดจะละเมิดได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้
2. สมาชิกรัฐสภา ในระหว่างสมัยประชุมห้ามมิให้จับ คุมขังหรือหมายเรียกตัว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ไปทำการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา เว้นแต่กรณีที่ได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก หรือในกรณีขณะกระทำความผิด ในกรณีที่มีการจับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาขณะกระทำความผิด ให้รายงานไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็น สมาชิกโดยพลัน และประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกอาจสั่งให้ปล่อยผู้ถูกจับได้และในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมสภาวุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำใดในทางแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นในทางใดมิได้
ข้อยกเว้นตามกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
1. ประมุของรัฐต่างประเทศ
2. ทูตและบริวาร
3. กองทัพที่เข้ามายึดครองอาณาจักร
4. บุคคลอื่นกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองให้ได้รับเอกสิทธิ์และคุ้มครอง
5. บุคคลที่มีกฎหมายพิเศษให้ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครอง เช่น บุคคลที่ทำงานในองค์การระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก ได้แก่ องค์การสหประชาชาติ ฯลฯ เป็นต้น
บุคคลและสถาบันผู้ใช้กฎหมาย
การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวข้องกับบุคคลและสถาบันหลายฝ่าย ได้แก่ ราษฎร เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ อัยการ และศาลยุติธรรม
ประชาชน
ในชีวิตประจำวันของประชาชนนั้น ต้องกระทำสิ่งต่าง ๆ มากมาย การกระทำเหล่านั้นจะมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยตลอดเวลา ดังนั้นประชาชนซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย จึงเป็นผู้ใช้กฎหมายโดยตรง
เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หมายถึง เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ได้แก ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้งพัสดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง และเจ้าพนักงานอื่น ๆ ซึ่งมีหน้าที่สืบสวน จับกุม ป้องก้น และปราบปรามการทำความผิดในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีบทบาทหน้าที่มากที่สุด เมื่อมีการกระทำผิดกฎหมาย ตั้งแต่สืบสวน จับกุม สอบสวน ตลอดจนเปรียบเทียบในคดีอาญาทั่ว ๆ ไป
พนักงานอัยการ พนักงานอัยการ หมายถึง เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล อาจจะเป็นข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเจ้าพนักงานอื่นที่มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลก็ได้ แต่โดยทั่วไปจะหมายถึงข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งมีอำนาจดำเนินคดีทั้งปวงแทนรัฐ โดยเป็นโจทย์ในคดีอาญา ทำหน้าที่ตรวจสำนวนการสอบสวนว่ามีพยานหลักฐานพอฟ้องหรือไม่ (ผู้เสียหายอาจตั้งทนายเป็นโจทย์ฟ้องคดีเองก็ได้) ตลอดจนเป็นทนายโจทย์หรือทนายจำเลย ว่าความในคดีแพ่งคดีอาญาทั้งปวงให้ส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ
ทนายความ ทนายความ หมายถึง ผู้ที่เรียนจบวิชากฎหมายและจดทะเบียนรับอนุญาตให้มีสิทธิว่าความในศาล ทนายความเป็นอาชีพอิสระ มีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริงเสนอต่อศาล ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายโจทย์หรือจำเลย คดีแพ่งหรือคดีอาญาก็ตามความจริงก็ไม่มีกฎหมายห้ามประชาชนผู้เป็นโจทย์หรือจำเลยไม่ให้ว่าความด้วยตนเอง แต่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้กฎหมายลึกซึ้ง จึงจำเป็นต้องมีทนายความช่วยเหลือ บางกรณีจำเลยในคดีอาญายากจน ไม่มีเงินจ้างทนายความอาจร้องขอให้ศาลตั้งทนายว่าความให้จำเลยก็ได้ คดีประเภทนี้เรียกว่า “คดีศาลขอแรง” และทนายก็เรียกว่า “ทนายขอแรง” ศาล
ศาล หมายถึง ศาลยุติธรรม หรือผู้พิพากษา ซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั่งปวง
การตีความกฎหมาย
การตีความกฎหมาย หมายถึง การค้นหาความหมายของถ้อยคำในตัวบทกฎหมายเพื่อนำไปปรับใช้กับข้อเท็จจริง เนื่องมาจากการใช้กฎหมายครั้งอาจเกิดปัญหาว่า ถ้อยคำในตัวบทกฎหมายไม่ชัดเจน เคลือบคลุมหรือมีความหมายได้หลายนัย จึงจำเป็นจะต้องมีการตีความกฎหมาย ซึ่งกระทำได้ 2 กรณี คือ การตีความตามตัวอักษร และการตีความตามเจตนารมณ์
การตีความตามตัวอักษร
การตีความตามตัวอักษร เป็นการค้นหาความหมายจากตัวอักษรของกฎหมาย มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. กรณีที่เป็นภาษาสามัญ ต้องตีความหมายอย่างที่เข้าใจกันโดยทั่วไปตามธรรมดาสามัญ หรือให้ถือเอาตามพจนานุกรม
2. กรณีที่เป็นศัพท์วิชาการหรือศัพท์เทคนิค ต้องตีความหามายอย่างที่เข้าใจกันในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ
3. กรณีที่กฎหมายประสงค์จะให้มีความหมายพิเศษไปจากที่เข้าใจกันตามธรรมดาสามัญ ในกฎหมายนั้นจะทำบทวิเคราะห์ศัพท์หรือนิยามไว้ในมาตราแรก ๆ ก็ต้องถือเอาความหมายตามบทวิเคราะห์ศัพท์หรือนิยามนั้น เช่น ประมวลกฎหมายอาญา บทนิยาม มาตรา 1 (11) บัญญัติว่า “กลางคืน” หมายความว่า เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น เป็นต้น
การตีความหมายตามเจตนารมณ์ การตีความตามเจตนารมณ์ เป็นการตีความเพื่อหยั่งทราบความมุ่งหมายหรือความต้องการของกฎหมายนั้น ๆ ซึ่งมีสิ่งที่จะต้องพิจารณา คือ ซึ่งของกฎหมายคำปรารภ ทนายเหตุท้ายมาตราต่าง ๆ รายงานการประชุมยกร่างกฎหมายนั้น เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะบอกได้ว่า เพราะเหตุใด หรือ ต้องการอะไร จึงบัญญัติกฎหมายไว้เช่นนี้
สำหรับกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษรุนแรงถึงประหารชีวิต และกระทบกระเทือนสิทธิ เสรีภาพของประชาชน การตีความกฎหมายอาญาจึงต้องมีกฎเกณฑ์พิเศษ คือ
1. ต้องตีความโดยเคร่งครัด หมายความว่า จะถือเป็นความผิดและลงโทษผู้กระทำผิดได้ จะต้องเป็นกฎหมายระบุไว้โดยชัดแจ้งเท่านั้น
2. จะตีความให้เป็นผลร้ายแก่บุคคลมิได้ กล่าวคือ จะตีความขยายความให้เป็นการลงโทษ หรือเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดให้หนักขึ้นไม่ได้
3. กรณีเป็นที่สงสัย จะต้องตีความในบางทีเป็นผลดีแก่ผู้กระทำความผิด กล่าวคือ ถ้าพยานหลักฐานไม่ชัดเจน ยังเป็นที่เคลือบคลุม ยังสงสัย หรือไม่แน่ใจว่าจำเลยกระทำความผิดจริงหรือไม่ ต้องยกประโยชน์ให้จำเลย ถือว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด ซึ่งเป็นไปตามสุภาษิตทางกฎหมายที่ว่า “ปลอบคนผิดสิบคนดีกว่าการที่จะลงโทษคนบริสุทธิ์คนเดียว”
ช่องว่างของกฎหมาย
ช่องว่างของกฎหมาย หมายถึง กรณีที่ผู้ใช้กฎหมายไม่สามารถจะหาตัวบทกฎหมายปรับใช้กับดีที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากผู้ยกร่างอาจจะฉีกไม่ถึง เพราะเหตุการณ์ยังไม่เคยเกิดขึ้น จึงไม่ได้บัญญัติไว้ จึงจำเป็นจะต้องมีวิธีการอุดช่องว่างของกฎหมาย
การอุดช่องว่างกฎหมาย
เมื่อเกิดช่องว่างของกฎหมายนี้ ถ้ากฎหมายนั้นกำหนดวิธีการอุดช่องว่างเอาไว้แล้ว จะต้องทำตามวิธีการที่กฎหมายนั้นกำหนดไว้ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรค 2 และวรรค 4 กำหนดวิธีการอุดช่องว่างเอาไว้ว่า เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ให้ใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ถ้าไม่มีกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็ให้ใช้หลักกฎหมายทั่วไป ในกรณีที่กฎหมายนั้นไม่ได้กำหนดวิธีการอุดช่องว่างเอาไว้ ศาลจะต้องพยายามกาหลักเกณฑ์มาพิจารณาวินิจฉัยให้ได้เสมอ ศาลจะอ้างเหตุไม่รับฟ้องหรือยกฟ้องคดี โดยอ้างว่าไม่มีกฎหมายที่จะนำมาใช้ปรับแก่คดีไม่ได้ในกฎหมายอาญานั้น ศาลอาจจะอุดช่องว่างของกฎหมายได้ ก็เฉพาะในทางที่เป็นคุณหรือเป็นผลดีแก่จำเลยเท่านั้น
การยกเลิกกฎหมาย การยกเลิกกฎหมาย คือ การทำให้กฎหมายสิ้นสุดการบังคับใช้ ซึ่งกระทำได้ทั่งการยกเลิกโดยตรงและโดยปริยาย
การยกเลิกกฎหมายโดยตรง เป็นกรณีที่ที่มีกฎหมายระบุให้ยกเลิกไว้อย่างชัดแจ้งมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. กฎหมายนั้นกำหนดวันยกเลิกเอาไว้เอง เช่น บัญญัติเอาไว้ว่า “พระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปเป็นเวลาสองปี” เมื่อครบกำหนด 2 ปี กฎหมายนั้นก็สิ้นสุดการบังคับใช้ไปเอง
2. ออกกฎหมายใหม่มายกเลิก โดยกฎหมายฉบับใหม่ที่ออกมานั้นเป็นกฎหมายเรื่องเดียวกัน และมีบทบัญญัติระบุให้ยกเลิก เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มีบัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 เป็นต้น
3. เมื่อรัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนด พระราชกำหนดเมื่อประกาศใช้แล้ว จะต้องให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติอีกครั้งหนึ่ง ถ้ารัฐสภามีมติไม่อนุมัติ พระราชกำหนดนั้นก็จะสิ้นสุดการบังคับใช้
การยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย
เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายใดระบุให้ยกเลิกไว้อย่างขัดแจ้ง มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. เมื่อกฎหมายใหม่และกฎหมายเก่ามีบทบัญญัติกรณีหนึ่งเป็นอย่างเดียวกัน ให้ใช้กฎหมายใหม่ ถือว่ากฎหมายเก่าถูกยกเลิกไปโดยปริยาย
2. เมื่อกฎหมายใหม่มีข้อความขัดแย้งกับกฎหมายเก่า ให้ใช้กฎหมายใหม่ถือว่ากฎหมายเก่าถูกยกเลิกไปโดยปริยายทั้ง 2 กรณี ดังกล่าวต้องใช้กฎหมายใหม่ เพราะเหตุว่า บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าขึ้น สถานการณ์บ้านเมืองย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา กฎหมายเก่าที่ใช้มาเป็นเวลานานอาจจะไม่เหมาะสมกับยุคสมัย การใช้กฎหมายใหม่ย่อมเหมาะสมกับสถานการณ์มากกว่า
3. กฎหมายแม่บทยกเลิกกฎหมายบริวารถูกยกเลิกด้วย กฎหมายบริวารหรือกฎหมายลูกที่ออกมาใช้โดยอาศัยกฎหมายแม่บท เมื่อกฎหมายแม่บทถูกยกเลิก ถือว่ากฎหมายบริวารถูกยกเลิกไปโดยปริยาย